วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis)



ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis)
           คือ การลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่พบได้ในเซลล์จำพวก อะมีบาและเซลล์เม็ดเลือดขาว
โดยเซลล์สามารถยื่นไซโทพลาซึม ออกมาล้อมอนุภาคของสารที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นของแข็ง
ก่อนที่จะนำเข้าสู่เซลล์ในรูปของเวสิเคิล จากนั้นอาจรวมตัวกับไลโซโซมภายในเซลล์เพื่อย่อย
สลายสารอาหารในเวสิเคิลด้วยเอนไซม์ภายในไลโซโซม ฟาโกไซโทซิสเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกินของเซลล์ (cell eating)

การลำเลียงของสารผ่านเซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติสามารถรวมตัวกับเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์หรือแยกตัวออกเพื่อสร้าง
เวสิเคิล ทำให้เซลล์สามารถใช้เยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบสารโมเลกุลใหญ่ได้
       การลำเลียงแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามทิศทางการลำเลียงออกหรือเข้าเซลล์ คือ เอกโซไซโทซิส (exocytosis) และ เอนโดไซโทซิส  (endocytosis)
เอกโซไซโทซิส (exocytosis)
           เป็นการลําเลียงสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ เช่น สารพวกเอนไซม์ หรือ ฮอร์โมน จะถูกสังเคราะห์ขึ้นจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ ซึ่งเป็นเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม ชนิดที่มีไรโบโซมเกาะอยู่ด้วย สารที่สังเคราะห์ได้จะถูกส่งไปยัง กอลจิบอดี เพื่อเก็บรวบรวมและ สร้างเป็นถุงเล็ก ๆ เรียกว่า เวสิเคิล
           เวสิเคิลจะเคลื่อนที่มาที่ผิวเซลล์ เมื่อสัมผัสกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อของเวสิเคิลจะรวมตัวกับ เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้สารที่อยู่ภายในเวสิเคิลถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ ของสารนั้นๆ    
           การลำเลียงสารออกนอกเซลล์ พบได้หลายลักษณะ เช่น เยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร และ ลำไส้หลั่งเอนไซม์ ต่อมไร้ท่อต่าง ๆ หลั่งฮอร์โมน การกำจัดของเสียที่ย่อยไม่ได้ออกจากเซลล์   
เอนโดไซโทซิส ( endocytosis )
           เป็นการลําเลียงสารตรงกันข้ามกับ เอกโซไซโทซิส คือ เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ เอนโดไซโทซิสในสิ่งมีชีวิต มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามกลไกการลำเลียง  เช่น ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) พิโนไซโทซิส (pinocytosis) และ การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (receptor-mediated endocytosis)

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์

พืชและสัตว์ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหมือนกัน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของหน้าที่ แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ โครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืช โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์ 1. ผนังเซลล์ (cell wall) พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1665 โดยโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน 2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบเซลล์ ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น น้ำ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรีย กรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน จึงเรียกเยื่อที่มีลักษณะแบบนี้ว่า เยื่อกึ่งซึมผ่านได้ (semipermeable membrane หรือ selective